ข้ามไปเนื้อหา

เอไอเอ็ม-54 ฟีนิกซ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอไอเอ็ม-54 ฟีนิกซ์
ชนิดอาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศพิสัยไกล
แหล่งกำเนิด สหรัฐ
บทบาท
ประจำการปลดประจำการเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2547
ผู้ใช้งานกองทัพเรือสหรัฐ (retired)
อิหร่าน
ประวัติการผลิต
บริษัทผู้ผลิตฮิวจ์ส แอร์คราฟท์ คอมพานี
เรย์ธีออน คอร์เปอเรชั่น
มูลค่า477,131 ดอลลาร์สหรัฐ
ข้อมูลจำเพาะ
มวล450-470 กิโลกรัม
ความยาว4 เมตร
เส้นผ่าศูนย์กลาง380 มิลลิเมตร
หัวรบระเบิดแรงสูง 61 กิโลกรัม
กลไกการจุดชนวน
ชนวนกะระยะ

เครื่องยนต์เครื่องยนต์จรวดเชื้อเพลิงแข็ง
ความยาวระหว่างปลายปีก910 มิลลิเมตร
พิสัยปฏิบัติการ
184 กิโลเมตรขึ้นไป
ความเร็ว5 มัค
ระบบนำวิถี
ติดตามด้วยเรดาร์และเรดาร์กึ่งปฏิบัติ
ฐานยิง
เอฟ-14 ทอมแคท

เอไอเอ็ม-54 ฟีนิกซ์ (อังกฤษ: AIM-54 Phoenix) เป็นขีปนาวุธอากาศสู่อากาศนำวิถีด้วยเรดาร์พิสัยไกลที่สามารถบรรทุกได้มากถึงหกลูก มันเคยถูกใช้ในกองทัพเรือสหรัฐฯ และในปัจจุบันใช้โดยเครื่องบินขับไล่เอฟ-14 ทอมแคทของกองทัพอากาศอิหร่านซึ่งเป็นอากาศยานลำเดียวที่สามารถบรรทุกได้

เอไอเอ็ม-54 เดิมทีถูกพัฒนาในช่วงต้นปีพ.ศ. 2503 สำหรับเครื่องบินเอฟ-111บีที่ถูกยกเลิกและมีพื้นฐานมาจากโครงการอีเกิลสำหรับยกเลิกเอฟ-6ดี มิสไซเลอร์ ทั้งสองมีพื้นฐานมาจากความคิดเพื่อให้อากาศยานบรรทุกขีปนาวุธพิสัยใกล้ที่ช้าและไม่คล่องตัวทำการตอบโต้เครื่องบินทิ้งระเบิดที่บรรทุกขีปนาวุธมาด้วย มันไม่ถูกใช้ในระยะใกล้

ประวัติ

[แก้]

ขีปนาวุธฟีนิกส์เป็นอาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้เพียงแบบเดียวของสหรัฐฯ และเป็นขีปนาวุธที่สามารถจัดการเป้าหมายได้มากกว่าหนึ่ง

อากาศยานของสหรัฐฯ ส่วนใหญ่จะใช้ขีปนาวุธที่มีขนาดเล็กและราคาถูกกว่าซึ่งคือเอไอเอ็ม-7 สแปร์โรว์ การนำวิถีของสแปร์โรว์ต้องการอากาศยานที่ใช้เรดาร์ของมันเพื่อชี้เป้าไม่เช่นนั้นมันก็จะสูญเสียเป้าหมาย วิธีนี้หมายความว่าอากาศยานไม่มีความสามารถในการตรวจหาในขณะที่สนับสนุนสแปร์โรว์ที่ยิงออกไปซึ่งมันลดประสิทธิภาพในการระวังตัวของเครื่องบิน

เอไอเอ็ม-54เอถูกปล่อยออกจากเอ็นเอ-3เอในปีพ.ศ. 2509

เรดาร์ของเครื่องทอมแคทสามารถติดตามเป้าหมายได้มากถึง 24 เป้าในโหมดสแกน ด้วยการเลือกเป้าหมาย 6 เป้าหมายที่จะยิงโดยเอไอเอ็ม-54 นักบินหรือผู้ควบคุมเรดาร์จะสามารถยิงขีปนาวุธฟีนิกซ์เมื่อตัวแปรเข้าที่ หน้าจอขนาดใหญ่ของห้องผู้ควบคุมเรดาร์จะแสดงข้อมูลมากมายให้กับลูกเรือและที่สำคัญกว่านั้นเอดับบลิวจี-9 จะสามารถมองหาเป้าหมายอย่างต่อเนื่องหลังจากที่ยิงขีปนาวุธฟีนิกซ์ไปแล้ว

การแบ่งข้อมูลทำให้เครื่องทอมแคทของกองทัพเรือสหรัฐฯ มีข้อมูลร่วมกันและในช่วงปฏิบัติการดีเซิร์ทชีลด์เมื่อปีพ.ศ. 2533 ระบบนี้ก็ได้รับการพัฒนาและเครื่องทอมแคทก็สามารถแบ่งข้อมูลให้กับลำอื่นได้เพื่อเพิ่มการระวังในสถานการณ์ เอฟ-14ดีได้เข้าประจำการด้วยระบบแบ่งข้อมูลที่ดีขึ้นโดยมีภาพในห้องนักบิน

การนำวิถี

[แก้]

ฟีนิกซ์มีรูปแบบนำวิถีมากมายและสามารถทำระยะได้มากที่สุดโดยใช้เรดาร์เอดับบลิวจี-9 ของเอฟ-14 (หรือเรดาร์เอพีจี-71 ในเอฟ-14บีและเอฟ-14ดี) เมื่อมันไต่ระดับระหว่าง 80,000 และ 100,000 ฟุตโดยมีความเร็วเกือบ 5 มัค ด้วยการใช้ความสูงเพื่อเพิ่มแรงจลน์ ขีปนาวุธจะดำดิ่งตรงไปที่เป้าหมายและมันจะเริ่มขั้นตอนสุดท้าย คือการเริ่มระบบเรดาร์สำหรับการบินช่วงสุดท้าย

เมื่อเทียบกับอาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศพิสัยกลางนำวิถีด้วยเรดาร์เอไอเอ็ม-120 แอมแรมที่ใช้คอมพิวเตอร์ดิจอตอลช่วยในการเข้าปะทะกับเป้าหมาย มันสามารถรับข้อมูลเพิ่มจากเครื่องบินก่อนที่จะใช้ตัวค้นหาเพื่อเข้าสู่ขั้นตอยสุดท้าย

การผสมผสานของเอไอเอ็ม-54/เอดับบลิวจี-9 เป็นความสามารถในการปะทะเป้าหมายหลายเป้าได้เป็นครั้งแรก (มากถึง 24 เป้าหมาย) และยิงขีปนาวุธออกไปได้มากถึง 6 ลูกเกือบพร้อมกัน ขีปนาวุธขนาด 1,000 ปอนด์จะถูกติดตั้งด้วยหัวรบแบบทั่วไป โครงสร้างของมันเป็นเหมือนเอไอเอ็ม-47 ฟอลคอนที่ใหญ่ เครื่องบินสามารถติดตั้งได้ 4 ลูกที่ใต้ท้องและอีก 2 ลูกใต้ปีกแต่ละข้าง ฟีนิกซ์สามารถติดตั้งพร้อมกันได้มากสุด 6 ลูกและใช้ราวปล่อยที่มีนำหนักมากว่า 8,000 กิโลกรัมหรือสองเท่าของขีปนาวุธสแปร์โรว์ ดังนั้นฟีนิกซ์จึงมักติดตั้งครั้งแรก 4 ลูกพร้อมกับ สแปร์โรว์และไซด์ไวน์เดอร์อย่างละ 2 ลูก มีรายงานว่าเอฟ-14 ไม่สามารถลงจอดบนเรือบรรทุกเครื่องบินพร้อมฟีนิกซ์ทั้ง 6 ลูกได้

ขีปนาวุธป้องกันกองเรือพิสัยใกล้

[แก้]
เอไอเอ็ม-54 ฟีนิกซ์หลังจากถูกยิง

ฟีนิกซ์ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันหมวดเรือบรรทุกเครื่องบินจากภัยต่างๆ รวมทั้งขีปนาวุธร่อน พิสัยและความสามารถในการบินของมันทำให้ทำการป้องกันได้จากระยะไกล ในช่วงที่สงครามเย็นดุเดือด ภัยร้ายแรงยังมาจากเครื่องบินทิ้งระเบิดอย่างตู-16 แบดเจอร์และตู-22เอ็ม แบ็คไฟร์ที่ติดตั้งขีปนาวุธร่อนความเร็วสูงและอีเอ็มซีหลายแบบ ฟีนิกซ์ที่ได้รับการพัฒนาอย่างเอไอเอ็ม-54ซีถูกพัฒนาให้จัดการกับเป้าหมายที่เป็นอาวุธจากเครื่องบินได้ดียิ่งขึ้น และการพัฒนายังรวมทั้งความสามารถในการตั้งโปรแกรมใหม่ เป็นที่คิดกันว่าฟีนิกซ์มีพื้นฐานมาจากเอไอเอ็ม-47 เอไอเอ็ม-47 นั้นถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบเครื่องบินสกัดกั้นล็อกฮีด วายเอฟ-12 เพื่อเป็นอาวุธให้กับเอสอาร์-71 แบล็คเบิร์ด

กองทัพอากาศสหรัฐได้เลิกใช้ทั้งเอไอเอ็ม-47 และเอไอเอ็ม-54 สหรัฐๆม่มีขีปนาวุธใดมาทดแทนจนกระทั่งมีการนำเอาเอไอเอ็ม-120 แอมแรมมาใช้ รุ่นล่าสุดคือเอไอเอ็ม-120ซี-7 ที่มีพิสัย 116 กิโลเมตรซึ่งก็ยังด้อยกว่าเอไอเอ็ม-54 ที่ถูกปลดประจำการไปแล้ว

เมื่อร่วมกับเรดาร์เอดับบลิวจี-9 ที่ใช้ในเอฟ-111บีและเอฟ-14 ทอมแคทมันจึงเป็นขีปนาวุธที่ใหญ่ที่สุดและทรงพลังที่สุดเท่าที่เคยใช้บนเครื่องบินขับไล่

ผลสืบเนื่อง

[แก้]

เอไอเอ็ม-54 ฟีนิกซ์ถูกปลดประจำการจากกองทัพเรือสหรัฐในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2547 เอฟ-14 ทอมแคทถูกปลดประจำการในวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2549 พวกมันถูกแทนที่โดยเอไอเอ็ม-120 ที่ใช้บนเอฟ/เอ-18อี/เอฟ ซูเปอร์ฮอร์เน็ท ทั้งเอฟ-14 และเอไอเอ็ม-54 ยังคงทำหน้าที่ต่อในกองทัพอากาศสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน

เอไอเอ็ม-54 ฟีนิกซ์กำลังถูกติดตั้งเข้ากับปีกของเอฟ-14 (ยังไม่ได้ติดตั้งปีกหน้าของขีปนาวุธ)

แม้ว่าจะมีความสามารถที่มากกว่า ฟีนิกซ์ก็ไม่ค่อยได้ใช้รบจริงๆ มีการยิงเพียงสองครั้งเท่านั้นและไม่มีการยืนยันว่าเป้าหมายถูกทำลาย แม้ว่าเอฟ-14 ของอิหร่านจะทำแต้มได้มากก็ตามในสงครามอิหร่าน-อิรัก[ต้องการอ้างอิง] เอฟ-15 อีเกิลของกองทัพอากาศทำหน้าที่การบินรบรักษาเขตในปฏิบัติการพายุทะเลทรายเมื่อปีพ.ศ. 2534 เนื่องมาจากเอฟ-15 มีความสามารถในการแยกแยะมิตรและศัตรูบนพื้น ทอมแคมนั้นไม่สามารถทำได้ตามกฎการปะทะเพื่อที่จะยิงเป้าหมายที่อยู่เลยการมองเห็น จากการสรรค์สร้างและใช้งาน ฟีนิกซ์กล่าวได้ว่ามันประสบความสำเร็จอย่างมาก อย่างไรก็ตามมันเป็นขีปนาวุธจากตระกูลฟอลคอนเพียงรุ่นเดียวที่ยังเหลืออยู่ มันไม่ได้ถูกใช้โดยชาติอื่น (นอกจากอิหร่าน) มันมีขนาดใหญ่ หนัก แพง และใช้งานได้ยากในการต่อสู้ระยะใกล้เมื่อเทียบกับสแปร์โรว์หรือแอมแรม

รุ่นต่างๆ

[แก้]
เอไอเอ็ม-54เอ
รุ่นต้นแบบที่นำเข้าประจำการในปีพ.ศ. 2517 และส่งออกให้กับอิหร่าน
เอไอเอ็ม-54ซี
รุ่นที่พัฒนา มันดีกว่าในการจัดการกับขีปนาวุธร่อน มันเข้ามาแทนที่แบบเดิมตั้งปีพ.ศ. 2529
เอไอเอ็ม-54 อีซีซีเอ็ม/ซีลด์
เป็นรุ่นพัฒนาที่มีทั้งความสามารถในการรบกวนเรดาร์ มันไม่ต้องอาศัยเครื่องลดความร้อนในระหว่างบิน มันถูกใช้ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2531
เพราะว่าเอไอเอ็ม-54 อีซีซีเอ็ม/ซีลด์ไม่มีระบบทำความเย็น เอฟ-14 ทอมแคทที่ใช้มันจึงไม่สามารถทำความเร็วสูงสุดได้

เอไอเอ็ม-54 ฟีนิกซ์ในอิหร่าน

[แก้]

ทางฝั่งตะวันตกมีข้อมูลน้อยมากเกี่ยวกับการใช้เอฟ-14เอ ทอมแคททั้ง 79 ลำของอิหร่าน ยกเว้นหนังสือที่ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ออสเพรย์ที่มีชื่อว่า"การรบของเอฟ-14 ทอมแคทของอิหร่าน" (Iranian F-14 Tomcats in Combat) ที่เขียนโดยทอม คูเปอร์และฟาร์ซาด บิชอป[1] การค้นคว้าส่วนใหญ่ที่ถูกบันทึกไว้ในหนังสือเล่มนี้มีพื้นเรื่องมาจากการสัมภาษน์นักบินและรวมทั้งคำวิจารณ์อีกด้วย

มีรายงานมากมายที่แตกต่างถึงขีปนาวุธ 285 ลูกที่มอบให้กับอิหร่าน[2] ในสงครามอิหร่าน-อิรักตั้งแต่ปีพ.ศ. 2523-2531 มีข่าวลือว่าช่างเทคนิคของสหรัฐได้ก่อวินาศกรรมเครื่องบินและอาวุธก่อนที่พวกมันจะออกจากประเทศหลังจากการปฏิวัติอิหร่านเมื่อปีพ.ศ. 2522 ทำให้เป็นไปไม่ได้ที่เครื่องบินจะยิงขีปนาวุธ อย่างไรก็ตามกองทัพอากาศอิหร่านสามารถทำการซ่อมแซมความเสียหายให้กับเครื่องบินบางลำเท่านั้น

บางแหล่งข้อมูลของฝั่งตะวันตกอ้างว่ามันดูไม่เหมือนว่าฟีนิกซ์ถูกใช้อย่างเป็นทางการ อย่างแรกด้วยความยุ่งยากของขีปนาวุธและระบบควบคุมการยิง อิหร่านจึงได้จ้างช่างเทคนิคชาวอเมริกันมากมายมาทำการแก้ไข พวกเขาได้รับความรู้ในการใช้งานและดูแลรักษาระบบอาวุธที่ซับซ้อนจากช่างเหล่านั้น นอกจากนั้นการที่ไม่มีการสนับสนุนทางวิศวกรรมจากฮิวจ์ส แอร์คราฟท์ อะไหล่ และการพัฒนา ทำให้แม้กระทั่งช่างที่มีความชำนาญก็ยังไม่สามารถใช้งานอาวุธได้อย่างเต็มที่

รายงานมากมายอ้างว่าการใช้เอฟ-14 ส่วนมากนั้นใช้ทำหน้าที่แจ้งเตือนล้วงหน้าทางอากาศโดยมีเครื่องบินขับไล่คอบคุ้มครอง อย่างไรก็ตามคูเปอร์อ้างว่ากองทัพอากาศอิหร่านใช้เอฟ-14 เป็นเครื่องบินขับไล่สกัดกั้น และในเวลาเดียวกันก็เป็นเครื่องบินขับไล่ที่ใช้เอไอเอ็ม-54 ทำการสังหารได้ 60-70 แต้ม เอฟ-14 มักถูกใช้เพื่อป้องกันเครื่องบินบรรทุกเชื้อเพลิงของอิหร่านที่คอยสนับสนุนการเข้าโจมตีอิรัก และตรวจตราแนวชายแดนด้วยเรดาร์ นอกจากนั้นเอฟ-14 ยังถูกดัดแปลงให้เป็นเครื่องบินแจ้งเตือนล่วงหน้า

ผู้สนับสนุนสิ่งนี้อ้างในความจริงที่ว่า ในสงครามอ่าวนักบินอิรักจะหนีทันทีเมื่อนักบินเอฟ-14 ของอเมริกันล็อกตำแหน่งพวกเขาด้วยเรดาร์เอเอ็น-เอดับบลิวจี-9 ซึ่งเสนอว่านักบินอิรักได้เรียนรู้ที่จะหลีกเลี่ยงเอฟ-14 มีการโต้เถียงที่ว่าเครื่องบินขับไล่ทั้งหมดของอิรักจะหนีไปโดยไม่สนใจว่าเครื่องบินที่พวกเขาเข้าปะทะเป็นชนิดใด กองทัพอากาศสหรัฐจะมีชัยเหนือการฝ่ายอิรักทางอากาศด้วยเอฟ-15 อีเกิลมากกว่าเอฟ-14 ที่อยู่ในบริเวณเดียวกัน

ตามที่คูเปอร์กล่าว กองทัพอากาศอิหร่านสามารถใช้เอฟ-14 และเอไอเอ็ม-54 ตลอดสงครามอิรัก-อิหร่าน แม้ว่าจะมีหลายลำที่ไม่สามารถขึ้นบินได้ แย่กว่านั้นในปีพ.ศ. 2530 เอไอเอ็ม-54 เหลือจำนวนน้อยมากโดยมีน้อยกว่า 50 ลูกที่ยังใช้งานได้ ขีปนาวุธนั้นต้องใช้แบทเตอรี่ความร้อนอันใหม่ซึ่งหาซื้อได้จากสหรัฐเท่านั้น ท้ายสุดอิหร่านก็หาซื้อจนได้อย่างลับๆ โดยมีมูลค่าลูกละ 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ อิหร่านได้รับชิ้นส่วนอะไหล่ของทั้งเอฟ-14 และเอไอเอ็ม-54 จากหลายแหล่งในสงครามอิหร่าน-อิรัก และยังได้รับอยู่หลังจากสงครามจบลง[ต้องการอ้างอิง] อิหร่านเริ่มโครงการทางอุตสหกรรมเพื่อสร้างอะไหล่ให้กับเครื่องบินและขีปนาวุธของพวกเขา แม้ว่ามีการอ้างว่าไม่มีทางที่เอฟ-14 และเอไอเอ็ม-54 จะทำงานได้หากขาดแหล่งอะไหล่ มันก็มีหลักฐานที่ว่าอิหร่านยังคงผลิตอะไหล่อย่างลับๆ[3]

การใช้เอไอเอ็ม-54 ฟีนิกซ์ของอเมริกา

[แก้]
  • ในเหตุการณ์ที่อ่าวซิดร้าในปีพ.ศ. 2524 ซึ่งมีเอฟ-14 ของอเมริกายิงเครื่องซุคฮอย ซู-22 2 ลำของลิเบียตก มีการเข้าใจว่าเป็นการใช้เอไอเอ็ม-54 อย่างไรก็ตามการปะทะเกิดขึ้นในระยะใกล้โดยการใช้เอไอเอ็ม-9 ไซด์ไวน์เดอร์ เอฟ-14 ลำอื่นของสหรัฐที่เข้าปะทะในอ่าวซิดร้าเมื่อปีพ.ศ. 2532 เป็นการใช้เอไอเอ็ม-7 สแปร์โรว์และไซด์ไวน์เดอร์ แต่ไม่มีการใช้ฟีนิกซ์เลย
  • ในการฝึกฟีนิกซ์ได้ยิงหุ่นจำลองจากระยะ 212 กิโลเมตรตกเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2522 ในอิหร่าน
  • ในวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2542 เอฟ-14 สองลำของสหรัฐได้ยิงเอไอเอ็ม-54 สองลูกใส่มิก-25 ของอิรักในทางตะวันออกเฉียงใต้ของแบกแดด แต่ทั้งสองลูกพลาดเป้า[4]
  • ในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2542 เอฟ-14 อีกลำของสหรัฐได้ยิงเอไอเอ็ม-54 ใส่มิก-23 ของอิรักซึ่งมุ่งหน้ามายังทางใต้ในเขตห้ามบินจากฐานบินอัล ทากัดดัมทางตะวันตกของแบกแดด ขีปนาวุธนั้นพลาดเป้าและตกลงสู่พื้นดิน[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Book: Iranian F-14 Tomcat Units in Combat
  2. Aerospaceweb.org | Ask Us - Iranian Air Force F-14
  3. Theimer, Sharon. "Iran Gets Army Gear in Pentagon Sale". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-01-19. สืบค้นเมื่อ 2007-01-17.
  4. DoD News Briefing January 5, 1999
  5. Tony Holmes, "US Navy F-14 Tomcat Units of Operation Iraqi Freedom", Osprey Publishing Limited (2005). Chapter One – OSW, p. 16 and 17.

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]